เหล็กเส้น ในงานก่อสร้าง
ป้ายกำกับ:
บทความ
SR24 - เหล็กเส้นกลม ผิวเรียบ รับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc
SD30 - เหล็กข้ออ้อย รับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000 ksc
SD40 - เหล็กข้ออ้อย รับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 4000 ksc
SD50 - เหล็กข้ออ้อย รับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 5000 ksc (หายากต้องสั่งเอาจากโรงงาน ใช้ในโครงการขนาดใหญ่ ใช้เสริมใน เสา ไม่นิยมใช่กับคานหรือพื้น) *คอนกรีตที่ใช้ต้องมีกำลังรับแรงอัดสูงตามไปด้วย
เหล็กเส้นกลมทั่วไป RB-Round Bar มีผิวเรียบ ตาม มาตราฐาน มอก.20 กำหนดให้มีเกรดเดียวคือ SR24 จะมีขนาด 6 , 9 , 12 , 15 , 19 , 25 มม. (เคยใช้แต่ 6 กับ 9 นอกนั้นเห็นในตำราว่ามีแต่ไม่เคยใช้) การเรียกชื่อจะใช้สัญลักษณ์ RB แล้วตามด้วยขนาด เป็น มม. เช่น RB6 RB9
เหล็กข้ออ้อย DB-Deform Bar มีลักษณะผิวเป็นบั้ง , ป้อง หรือครีบเกรียว ตลอดความยาวเหล็กเส้น ตามมาตราฐาน มอก.24 กำหนด ไว้ 3 เกรด คือ SD30, SD40, SD50 จะมีขนาด 10 , 12 , 16 , 20 , 25 , 28 , 36 มม (เหล็ก 10, 28, 36 จะหาได้ยาก ตาม ตจว. ไม่ค่อยมีนอกจากในร้านใหญ่ๆ โดยมากต้องสั่งจากโรงงาน) การเรียกชื่อจะใช้สัญลักษณ์ DB แล้วตามด้วยขนาด เป็น มม. เช่น DB10 DB12 DB16
โดยเหล็กเส้น จะมีความยาว 2 ขนาดคือ 10 เมตร กับ 12 เมตร โดยทั่วไป จะเป็น 10 เมตร แต่ 12 เมตรก็สามารถหาได้เช่นกัน
เหล็ก มีน้ำหนักโดยประมาณ 7.860 ton/m^3
ถ้าอยากได้เหล็กเต็มขนาด เต็มน้ำหนัก ก็ซื้อเหล็กของ ปูนซิเมนต์ไทย หรือเหล็ก ที่มี เครื่องหมาย มาตรฐาน มอก ครับ (มักจะเรียกกันว่า เหล็ก บลส คือของปูนซิเมนต์ไทย
ไม่ก็เหล็ก มอก หรือเรียกว่า เหล็กโรงใหญ่ - มี มอก.)
ลวดผูกเหล็ก-มีสีดำ มีขนาดเดียว คือเบอร์18 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.24 mm. ต้านทานแรงดึงสูงสุด 3000ksc ทนการบิดได้อย่างน้อย 75 รอบ
-รวบรวมข้อมูลจาก หนังสือการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดย ศ.วินิต ช่อวิเชียร และ http://www.pantip.com/cafe/home/
13 กรกฎาคม 2553 เวลา 16:41
ไม่มีรูปอะคับ
แสดงความคิดเห็น